ความหมายของบรรจุภัณฑ์
บรรจุภัณฑ์หรือการบรรจุหีบห่อ หมายถึงศาสตร์และศิลป์ที่ใช้ในการบรรจุสินค้าโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อการคุ้มครองปกป้องสินค้าจากผู้ผลิตจนถึงมือลูกค้าอย่างปลอดภัยด้วยต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม
จากความหมายพอสรุปได้ว่าบรรจุภัณฑ์นั้นหมายถึง เรื่องของวิทยาศาสตร์ และเรื่องของศิลปะที่ใช้เพื่อการบรรจุสินค้าโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและทำให้เกิดความเสียหายกับสิ่งแวดล้อม และบรรจุภัณฑ์นั้นจะต้องปกป้องตัวสินค้าให้อยู่ในสภาพที่ดีจากแหล่งผลิตจนถึงมือลูกค้าโดยไม่ให้ได้รับความเสียหาย ทั้งนี้บรรจุภัณฑ์นั้น ๆ จะต้องมีต้นทุนของการผลิตที่ไม่สูงจนเกินไป



ความเป็นมาของการบรรจุภัณฑ์
ในยุคหินเมื่อมนุษย์ล่าสัตว์ได้เขาก็จะใช้หนังสัตว์ หรือใบไม้ห่อหุ้มสัตว์ที่ล่ามาได้เพื่อป้องกันพวกแมลง แสงแดดและฝน นอกจากนี้ในการพกพาอาหารหรือวัตถุที่ต้องการ สิ่งที่ใช้ในการห่อหุ้มจะเป็น ใบไม้ เปลือกไม้ เปลือกหอย กระบอกไม้ กระเพาะสัตว์ หนังสัตว์ ฯลฯ เป็นต้น การรู้จักการแก้ปัญหาด้วยการนำเอาวัตถุดิบ (Raw Materials) จากธรรมชาติเจ้ามาเป็นอุปกรณ์ช่วยเคลื่อนย้ายวัตถุมวลสาร การกระทำดังกล่าวจึงนับว่าเป็นที่มาของการบรรจุ (Filling) ต่อมามนุษย์เริ่มรู้จักการประดิษฐ์ คิดค้นภาชนะบรรจุด้วยการดัดแปลงคุณสมบัติทางกายภาพของวัสดุธรรมธรรมชาติให้มีรูปร่างและหน้าที่ใช้สอยเพิ่มขึ้นนี่เอง จึงจัดว่าเป็นการออกแบบบรรจุภัณฑ์ดั้งเดิม (Primitive Packaging Design) ที่มนุษย์ในสมัยก่อนได้กระทำขึ้นตามสภาพการเรียนรู้และการค้นพบวัสดุในแต่ละยุค
การออกแบบการบรรจุภัณฑ์ จึงเริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการค้าและการบริการ ในฐานะของสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกแก่การขนส่งสินค้า (Aid Transportation) โดยทำหน้าที่ขั้นพื้นฐานอันดับแรกคือ ปกป้อง คุ้มครองสินค้าให้ปลอดภัยจากความเสียหาย อันเนื่องมาจากการกระทบกระเทือน และป้องกันสิ่งปนเปื้อนที่ไม่พึงประสงค์ (To Prevent Spillage And Contamination) ที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งสินค้าผลิตภัณฑ์จากโรงงานผลิตไปจนกระทั่งถึงมือผู้บริโภค ซึ่งบทบาทนี้มีผลทำให้รูปแบบของบรรจุภัณฑ์ (Package Form) มีการพัฒนาขึ้นมารับรอง มีการออกแบบภาชนะบรรจุแบบปิด (Closed Container) เช่น ถังไม้ (Barrel) การรู้จักปิดผนึกบรรจุภัณฑ์ (Container Closure) เช่น มีฝาจุกปิดขวด (Bottle Plug Seals) ฯลฯ เป็นต้น เทคนิคและกรรมวิธีการบรรจุที่พัฒนาขึ้นตามหน้าที่ใช้สอยเหล่านี้ จึงเป็นผลทำให้เกิดการพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลายลักษณะตามกาลเวลา และการค้นพบวัสดุหรือเทคโนโลยีที่นำมาใช้
หลักในการเลือกบรรจุภัณฑ์
1.ลักษณะและคุณสมบัติของสินค้า
สินค้าแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน ซึ่งเราจะต้องพิจารณาว่าลักษณะของสินค้าทั้งทางด้านกายภาพและทางด้านเคมีมี ลักษณะเป็นเช่นไร เพื่อที่เราจะได้เลือกใช้บรรจุภัณฑ์ให้ถูกต้อง เช่น ถ้าสินค้าของเรามีลักษณะเป็นของเหลว เราจะต้องเลือกบรรจุภัณฑ์ที่มีลักษณะที่ไม่เสียสภาพเมื่อโดนความชื้น สามารถป้องกันการรั่วซึมได้
2.วัสดุภาชนะบรรจุ
วัสดุที่เรานิยมนำมาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์มีอยู่ด้วยกัน 4 ชนิด คือ
-แก้ว เป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีทั้งชนิดโปร่งใสและโปร่งแสง ซึ่งสามารถป้องกันการซึมผ่านของก๊าซ, น้ำ,กลิ่น ได้ สามารถทนแรงอัดอากาศได้และไม่ทำปฏิกิริยากับสินค้าที่บรรจุอยู่ภายใน สามารถทำความสะอาดได้ง่าย ไม่มีกลิ่น และสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ เป็นวัสดุที่ค่อนข้าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่มีข้อเสียคือ มีความเปราะบางและแตกหักง่ายและมีน้ำหนักค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับบรรจุ ภัณฑ์ชนิดอื่นๆ
-กระดาษ เป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีน้ำหนักเบา ราคาถูก สามารถใช้งานได้สะดวกเนื่องจากสามารถพับเก็บได้ทำให้ประหยัดเนื้อที่ในการ จัดเก็บ อีกทั้งยังสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ เป็นวัสดุที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ แต่มีข้อเสียคือ ไม่ทนความชื้นและแมลงกัดแทะ
-โลหะ เป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีความแข็งแรง สามารถทนความร้อนและแรงดันได้สูง สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ แต่มีข้อเสียคือ อาจเกิดปฏิกิริยากับสินค้าที่บรรจุได้ กัดกร่อนได้ง่าย และใช้พื้นที่ในการจัดเก็บมาก
-พลาสติก เป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีหลายชนิด สามารถใช้งานได้หลากหลาย มีราคาถูก สามารถขึ้นรูปได้ง่ายและขึ้นรูปได้หลายรูปแบบ แต่มีข้อเสียคือไม่ค่อยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพราะย่อยสลายได้ยาก
3.ตลาดเป้าหมาย
ก่อนที่เราจะทำการเลือกบรรจุภัณฑ์ เราจะต้องศึกษาถึงความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ได้เลือกบรรจุภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
4.วิธีการจัดจำหน่าย
วิธีการจัดจำหน่ายถือว่าเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกบรรจุ ภัณฑ์ เช่น ถ้าผลิตภัณฑ์ของเราจำหน่ายตรงไปยังผู้บริโภคเลย ก็จะต้องใช้บรรจุภัณฑ์แบบหนึ่ง แต่ถ้าจะต้องขายผ่านพ่อค้าคนกลางเราก็จะต้องดูว่า พ่อค้าคนกลางขายสินค้าอย่างไร การจัดร้านเป็นลักษณะใด
5.วิธีการบรรจุ
วิธีการบรรจุและการใช้เครื่องจักรในการบรรจุนั้นถือว่าเป็นอีกข้อหนึ่งที่ เราจะต้องพิจารณา เพราะถ้าหากเราออกแบบบรรจุภัณฑ์โยที่เราไม่คำนึงถึงจุดนี้ก็อาจจะทำให้เกิด ปัญหาระหว่างการบรรจุได้
6.วิธีการในการเก็บรักษาและระยะเวลาในการเก็บรักษา
เช่น สินค้าแต่ละชนิดมีน้ำหนักไม่เท่ากัน ถ้าสินค้าของเรามีน้ำหนักมากและเราจะทำการวางซ้อนกันเพื่อประหยัดพื้นที่ใน การจัดเก็บ ตัวบรรจุภัณฑ์อาจจะต้องมีความแข็งแรงเป็นพิเศษ เป็นต้น นอกจากนี้อาจจะต้องดูถึง อุณหภูมิ ความชื้น แมลงศัตรูพืช ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นเพียงปัจจัยส่วนหนึ่งที่สำคัญที่เราจะต้องนำมา พิจารณา ส่วนระยะเวลาในการจัดเก็บ ยิ่งถ้าเราจะต้องจัดเก็บเป็นระยะเวลานาน ตัวบรรจุภัณฑ์ก็จะต้องออกแบบมาให้สามารถรักษาคุณภาพของสินค้าให้ได้ภายใน ระยะเวลาที่กำหนด
7.ลักษณะการนำไปใช้งาน
โดยบรรจุภัณฑ์จะต้องออกแบบมาให้ใช้งานได้สะดวกและง่ายต่อการใช้ เช่น การเปิด-ปิด การหยิบจับขณะใช้งาน
8.ราคาของบรรจุภัณฑ์
7.ลักษณะการนำไปใช้งาน
โดยบรรจุภัณฑ์จะต้องออกแบบมาให้ใช้งานได้สะดวกและง่ายต่อการใช้ เช่น การเปิด-ปิด การหยิบจับขณะใช้งาน
8.ราคาของบรรจุภัณฑ์
ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญและไม่ควรละเลย เพราะทุกกิจการจะต้องประหยัดงบประมาณในการทำบรรจุภัณฑ์ แต่ก็จะต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อยอดขายด้วย ดังนั้นจึงควรเลือกบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติในการคุ้มครองที่พอเหมาะและราคา ไม่สูงจนเกินไปอีกทั้งยังจะต้องมีความสวยงามด้วย
หน้าที่บทบาทของบรรจุภัณฑ์
1. ทำหน้าที่รองรับ (Contain) รองรับสินค้าให้รวมกันเป็นกลุ่มหรือตามรูปร่างของภาชนะนั้นๆ
2. ป้องกัน (Protect) ป้องกันคุ้มครองสินค้าที่บรรจุอยู่ภายในไม่ให้ ยุบ สลาย เสียรูปหรือเสียหายอันเกิดจากสิ่งแวดล้อม
3. ทำหน้าที่รักษา (Preserve) คุณภาพสินค้าให้อยู่คงเดิมตั้งแต่ผู้ผลิตไปจนถึงมือผู้บริโภค
4. บงชี้ (Identify) หรือ แจ้งข้อมูล (Inform) แจงรายละเอียดต่างๆของสินค้าเกี่ยวกับชนิด คุณภาพและแหล่งที่มาหรือจุดหมายปลายทาง โดยแสดงข้อมูลอย่างชัดเจน
5. ดึงดูดความสนใจ (Consumer Appeal) ช่วยชักจูงในการซื้อขาย ดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค
หน้าที่บทบาทของบรรจุภัณฑ์
1. ทำหน้าที่รองรับ (Contain) รองรับสินค้าให้รวมกันเป็นกลุ่มหรือตามรูปร่างของภาชนะนั้นๆ
2. ป้องกัน (Protect) ป้องกันคุ้มครองสินค้าที่บรรจุอยู่ภายในไม่ให้ ยุบ สลาย เสียรูปหรือเสียหายอันเกิดจากสิ่งแวดล้อม
3. ทำหน้าที่รักษา (Preserve) คุณภาพสินค้าให้อยู่คงเดิมตั้งแต่ผู้ผลิตไปจนถึงมือผู้บริโภค
4. บงชี้ (Identify) หรือ แจ้งข้อมูล (Inform) แจงรายละเอียดต่างๆของสินค้าเกี่ยวกับชนิด คุณภาพและแหล่งที่มาหรือจุดหมายปลายทาง โดยแสดงข้อมูลอย่างชัดเจน
5. ดึงดูดความสนใจ (Consumer Appeal) ช่วยชักจูงในการซื้อขาย ดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค
6. ช่วยเพิ่มกำไร ช่วยส่งเสริมยุทธวิธีการตลาดโดยการเปิดตลาดใหม่หรือเพิ่มยอดขายให้กับสินค้าแต่ละชนิด
7. สร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) สร้างความน่าเชื่อและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค
8. การแสดงตัว (Presentation) สื่อความหมาย ภาพพจน์ การออกแบบและสีสัน ความคุ้มค่าสร้างความมั่นใจต่อผู้บริโภค/ผู้ใช้/ผู้ซื้อ ให้ข้อมูลผลิตชัดเจน
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต
จากเยื่อไม้และกระดาษ
1. กระดาษธรรมดา แบ่งออกเป็นชนิดต่างๆ ได้ดังนี้
2. กระดาษแข็ง
3. กระดาษลูกฟูก แบ่งตามลักษณะของลอนลูกฟูก
4. กระดาษการ์ด แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ กระดาษการ์ดมานิลา และกระดาษ การ์ดไอวอรี่
5. กระดาษสา เป็นกระดาษที่ทำจากวัสดุที่ได้จากพืช
คุณสมบัติพิเศษของกระดาษสา เกิดมาจากวัตถุดิบปอสา ซึ่งเป็นพืชที่มีเยื่อเป็นเส้นใยยาว มีความเหนียวมาก นำมาแปรสภาพโดยการทุบตีเยื่อไม้ เพื่อนำมาทำเป็นกระดาษ ทำเชือก หรือใช้เป็น เยื่อผสมปูนขาว ปูนปลาสเตอร์ในการหล่อผลิตภัณฑ์ โดยช่วยเสริมความแข็งแรงคงทนให้แก่ตัวผลิตภัณฑ์นั้นๆ
การแปรรูปวัสดุประเภทกระดาษเป็นบรรจุภัณฑ์ สามารถทำได้หลายรูปแบบ ดังนี้
1. กล่อง ได้แก่ กล่องกระดาษแข็งแบบพับ และกล่องกระดาษแข็งแบบตายตัว


2. ถุงและซอง เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้กันมาก สำหรับผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องอุปโภค บริโภค จัดเป็น บรรจุภัณฑ์เฉพาะตัวสำหรับผลิตภัณฑ์หน่วยเดียวอีกแบบหนึ่ง วัสดุที่ใช้ทำถุงหรือซองกระดาษ ส่วนใหญ่นิยมใช้กระดาษคราฟท์ ( kraft ) นอกจากนี้ถุงหรือซองกระดาษยังสามารถใช้เป็นสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ประเภทสิ่งพิมพ์ โฆษณาเคลื่อนที่แสดงเอกลักษณ์ ชื่อผลิตภัณฑ์หรือผู้ผลิตได้ดีอีกด้วย
จากพืช
ห่อ : เป็นกรรมวิธีในการเก็บรักษา และพัน หรือห่อหุ้มสิ่งของ อาหาร เพื่อแปรรูปให้เป็นอาหารสุก เช่น การห่อขนมต่างๆ ด้วยใบตอง ใบบัว เพื่อเก็บรักษา หรือนำอาหารนั้นไปนึ่งหรือต้มให้สุก
กลัด : การเก็บอาหารด้วยใบตองและใบไม้ เช่นใบบัว ใบอ้อย ใบมะพร้าว เป็นการนำวัตถุดิบที่ใช้ห่อสิ่งต่างๆ ติดกัน มักใช้กับใบตอง ใบบัววิธีกลัดจะต้องใช้ไม้กลัดที่ทำจากไม้ไผ่หรือก้านมะพร้าว
มัด : การมัดเข้าหากันหรือรัดให้แน่นด้วยตอก เพื่อให้ใบตองหรือใบไม้หุ้มอาหารให้แน่น เช่น การห่อข้าวต้มผัดหรือข้าวต้มมัดด้วยใบตอง แล้วใช้ตอกมัดหัวท้าย หรือใช้ใบตองห่อแล้วใช้ตอกมัดเป็นเปลาะๆ อย่างการมัดแหนม
ร้อย : การนำเอาวัสดุจากธรรมชาติ เช่น ไม้ไผ่ กาบกล้วย มาเหลา ฉีก หรือเจียนเป็นเส้น เพื่อมาร้อยรวมผลผลิตหรือสินค้าเข้าไว้ด้วยกัน เช่น ใช้เชือกกล้วยร้อยห่อน้ำพริกเข้าไว้รวมกัน ใช้ตอกไม้ไผ่ร้อยหัวปลาแล้วจัดเรียงกันอย่างเป็นระเบียบนำไปตากแห้งเพื่อจำหน่าย, ใช้เชือกกล้วยหรือเชือกปอร้อยผมหมากสุกที่หั่นเป็นแว่นรวมไว้เป็นเส้น แล้วนำไปตากแห้งนำมามัดรวมเป็นพวง เย็บ : การใช้ตอก หวาย ไม้กลัดสอดเสียบให้วัตถุดิบประเภทใบไม้คงรูปเป็นภาชนะ
จากไม้
ไม้เป็นวัสดุที่ใช้ในการหีบห่อที่เก่าแก่ที่สุดในโลก
และมีปริมาณการใช้น้อยมากเมื่อเทียบกับการใช้ไม้เพื่อประโยชน์อย่างอื่นใช้ไม้เป็นเชื้อเพลิงซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่ประชาชนจำนวนมากของโลกจำเป็นต้อง
พึ่งพาเนื่องจากไม้มีความแข็งแรงทนทาน
จึงใช้เป็นวัตถุดิบที่สำคัญเพื่อการหีบห่อสินค้าจากประเทศที่กำลังพัฒนา ไปสู่ประเทศอุตสาหกรรม
แต่มักจะก่อปัญหาด้านสภาวะแวดล้อม และการทิ้งทำลายเนื่องจากไม่มีการนำลังไม้ กลับมาใช้ซ้ำอีก
ทั้งเป็นการยากมากที่จะนำไปทิ้งโดยเฉพาะสินค้าที่นำไปจำหน่ายในร้ายขายปลีก
นอกจากปัญหาการทิ้งทำลายแล้ว อัตราการจ้างงานที่ค่อนข้างสูงในประเทศอุตสาหกรรมยิ่งเป็นข้อจำกัดการใช้ไม้เป็น หีบห่อสำหรับสินค้าบางประเภท แต่อย่างไร ก็ตามยังมีการใช้ลังไม้เป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมอยู่ทั่วไป เช่น สินค้าประเภทเครื่องจักรที่มีน้ำหนักมาก และมีมูลค่าค่อนข้างสูง ซึ่งจำเป็นต้องขนส่งทางเรือโดยไม่ใช้ตู้ขนสินค้า ดังนั้น การใช้ไม้เป็นแท่นรองรับสินค้ายัง ประสบความสำเร็จอยู่ ถึงแม้จะมีวัสดุอื่นที่ใช้ทดแทนได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วยังคงใช้ไม้เนื่องจากอัตราส่วนระหว่าง ความแข็งและน้ำหนักของไม้ยังไม่อาจมีวัสดุอื่นมาทดแทนได้ เมื่อใช้ราคาเป็นสิ่งกำหนดประเภทของบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ไม้ ได้แก่ ลังโปร่ง ลัง กล่องสำหรับสินค้าต่างๆการใช้ไม้เพื่อหีบห่อนั้น มีข้อบังคับสำหรับประเทศผู้นำเข้า ซึ่งผู้ส่งออกต้องแสดงใบรับรองว่าได้มีการปฏิบัติเพื่อป้องกัน การแพร่ระบาดของโรคและแมลง
นอกจากปัญหาการทิ้งทำลายแล้ว อัตราการจ้างงานที่ค่อนข้างสูงในประเทศอุตสาหกรรมยิ่งเป็นข้อจำกัดการใช้ไม้เป็น หีบห่อสำหรับสินค้าบางประเภท แต่อย่างไร ก็ตามยังมีการใช้ลังไม้เป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมอยู่ทั่วไป เช่น สินค้าประเภทเครื่องจักรที่มีน้ำหนักมาก และมีมูลค่าค่อนข้างสูง ซึ่งจำเป็นต้องขนส่งทางเรือโดยไม่ใช้ตู้ขนสินค้า ดังนั้น การใช้ไม้เป็นแท่นรองรับสินค้ายัง ประสบความสำเร็จอยู่ ถึงแม้จะมีวัสดุอื่นที่ใช้ทดแทนได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วยังคงใช้ไม้เนื่องจากอัตราส่วนระหว่าง ความแข็งและน้ำหนักของไม้ยังไม่อาจมีวัสดุอื่นมาทดแทนได้ เมื่อใช้ราคาเป็นสิ่งกำหนดประเภทของบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ไม้ ได้แก่ ลังโปร่ง ลัง กล่องสำหรับสินค้าต่างๆการใช้ไม้เพื่อหีบห่อนั้น มีข้อบังคับสำหรับประเทศผู้นำเข้า ซึ่งผู้ส่งออกต้องแสดงใบรับรองว่าได้มีการปฏิบัติเพื่อป้องกัน การแพร่ระบาดของโรคและแมลง
![]() |
บรรจุภัณฑ์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
Boxed Water เป็นผลิตภัณฑ์น้ำดื่ม
โดยบรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษของ Boxed Water นี้จะช่วยการลดใช้ขวดพลาสติกที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และกล่องกระดาษของ Boxed Water มีความพิเศษกว่ากล่องทั่วๆไปคือ
76% ของกล่องได้มาจากการนำกลับมาใช้ใหม่ (Renew) และจากต้นไม้
โดยต้นไม้ที่นำมาใช้ผลิตกล่องก็จะได้รับการรับรองว่ามาจากป่าที่มีการควบคุมคุณภาพเป็นอย่างดี
นอกจากนี้กล่องสามารถนำกลับมาดัดแปลงเป็นสิ่งต่างๆได้อีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น